การแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส
เป็นการแบ่งเซลล์เพื่อสร้างเซลล์สืบพันธุ์สัตว์ ซึ่งเกิดในวัยเจริญพันธุ์
ของสิ่งมี ชีวิต โดยพบในอัณฑะ ( testes), รังไข่ ( ovary),
และเป็นการแบ่ง เพื่อสร้างสปอร์ ( spore) ในพืช
ซึ่งพบในอับละอองเรณู ( pollen sac) และอับสปอร์ ( sporangium)
หรือโคน ( cone) หรือในออวุล ( ovule)
มีการลดจำนวนชุดโครโมโซมจาก
2n เป็น n ซึ่งเป็นกลไกหนึ่งที่ช่วยให้จำนวนชุดโครโมโซมคงที่
ในแต่ละสปีชีส์ ไม่ว่าจะเป็นโครโมโซม ในรุ่นพ่อ - แม่ หรือรุ่นลูก - หลานก็ตาม
มี 2 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้
1. ไมโอซิส I
(Meiosis - I)
ไมโอซิส
I (Meiosis - I) หรือ Reductional division ขั้นตอนนี้จะมีการแยก homologous chromosome ออกจากกันมี
5 ระยะย่อย คือ
ที่มา: www.myfirstbrain.com
Interphase- I
• มีการสังเคราะห์
DNA อีก 1 เท่าตัว
หรือมีการจำลองโครโมโซม อีก 1 ชุด และยังติดกันอยู่
ที่ปมเซนโทรเมียร์ ดังนั้น โครโมโซม 1 ท่อน จึงมี 2 โครมาทิด
Prophase - I
• เป็นระยะที่ใช้เวลานานที่สุด
• มีความสำคัญ
ต่อการเกิดวิวัฒนาการ ของสิ่งมีชีวิตมากที่สุด เนื่องจากมีการแปลผัน
ของยีนส์เกิดขึ้น
• โครโมโซมที่เป็นคู่กัน
(Homologous Chromosome) จะมาเข้าคู่ และแนบชิดติดกัน
เรียกว่า เกิดไซแนปซิส (Synapsis) ซึ่งคู่ของโฮโมโลกัส
โครโมโซม ที่เกิดไซแนปซิสกันอยู่นั้น เรียกว่า ไบแวเลนท์ (bivalent) ซึ่งแต่ละไบแวเลนท์มี 4 โครมาทิดเรียกว่า เทแทรด (tetrad)
ในคน มีโครโมโซม 23 คู่ จึงมี 23 ไบแวเลนท์
• โฮโมโลกัส
โครโมโซม ที่ไซแนปซิสกัน จะผละออกจากกัน บริเวณกลางๆ แต่ตอนปลาย ยังไขว้กันอยู่
เรียกว่า เกิดไคแอสมา ( chiasma)
• มีการเปลี่ยนแปลงชิ้นส่วนโครมาทิด
ระหว่างโครโมโซมที่เป็นโฮโมโลกัสกัน กับบริเวณที่เกิดไคแอสมา เรียกว่า
ครอสซิ่งโอเวอร์ ( crossing over) หรืออาจมีการเปลี่ยนแปลง
ชิ้นส่วนของโครมาทิด ระหว่างโครโมโซม ที่ไม่เป็นโฮโมโลกัสกัน (nonhomhlogous
chromosome) เรียกว่าทรานส-โลเคชัน (translocation) กรณีทั้งสอง ทำให้เกิดการผันแปรของยีน ( geng variation) ซึ่งทำให้เกิดการแปรผัน ของลักษณะสิ่งมีชีวิต ( variation)
Metaphase - I
• ไบแวเลนท์จะมาเรียงตัวกัน
อยู่ในแนวกึ่งกลางเซลล์ (โฮโมโลกัส โครโมโซม ยังอยู่กันเป็นคู่ๆ)
Anaphase - I
• ไมโทติก
สปินเดิล จะหดตัวดึงให้ โฮโมโลกัส โครโมโซม ผละแยกออกจากกัน
• จำนวนชุดโครโมโซมในเซลล์
ระยะนี้ยังคงเป็น 2n เหมือนเดิม ( 2n เป็น
2n)
Telophase - I
• โครโมโซมจะไปรวมอยู่
แต่ละขั้วของเซลล์ และในเซลล์บางชนิด ในระยะนี้ จะมีการสร้างเยื่อหุ้มนิวเคลียส
มาล้อมรอบโครโมโซม และแบ่งไซโทพลาสซึม ออกเป็น 2 เซลล์
เซลล์ละ n แต่ในเซลล์บางชนิด จะไม่แบ่งไซโทพลาสซึม
โดยจะมีการเปลี่ยนแปลง ของโครโมโซม เข้าสู่ระยะโพรเฟส II เลย
2. ไมโอซิส II
(Meiosis - II)
ไมโอซิส II (Meiosis - II) หรือ
Equational division ขั้นตอนนี้จะมีการแยกโครมาทิด
ออกจากกันมี 4 - 5 ระยะย่อย คือ
ที่มา: www.myfirstbrain.com
Interphase - II
• เป็นระยะพักตัว
ซึ่งมีหรือไม่ก็ได้ ขึ้นอยู่กับชนิดของเซลล์
• ไม่มีการสังเคราะห์
DNA หรือจำลองโครโมโซมแต่อย่างใด
Prophase - II
• โครมาทิดจะหดสั้นมากขึ้น
• ไม่มีการเกิดไซแนปซิส
, ไคแอสมา , ครอสซิ่งโอเวอร์
Metaphase - II
• โครมาทิดมาเรียงตัว
อยู่ในแนวกึ่งกลางเซลล์
Anaphase - II
• มีการแยกโครมาทิดออกจากกัน
ทำให้จำนวนชุดโครโมโซมเพิ่มจาก n
• เป็น 2n
ชั่วขณะ
Telophase - II
• มีการแบ่งไซโทพลาสซึม
จนได้เซลล์ใหม่ 4 เซลล์ ซึ่งแต่ละเซลล์ มีโครโมโซม เป็น n
• ใน 4 เซลล์ที่เกิดขึ้นนั้น จะมียีนเหมือนกันอย่างละ 2 เซลล์
ถ้าไม่เกิดครอสซิ่งโอเวอร์ หรืออาจจะมียีนต่างกันทั้ง 4 เซลล์
ถ้าเกิดครอสซิ่งโอเวอร์ หรืออาจมียีนต่างกันทั้ง 4 เซลล์ถ้าเกิดครอสซิ่งโอเวอร์
เมื่อสิ้นสุดการแบ่งจะได้ 4 เซลล์ที่มีโครโมโซมเซลล์ละ
n (Haploid) ซึ่งเป็นครึ่งหนึ่งของเซลล์ตั้งต้น
และเซลล์ที่ได้เป็นผลลัพธ์ ไม่จำเป็นต้องมีขนาดเท่ากัน
ขั้นตอนต่างๆในไมโอซิส
ระยะ
|
การเปลี่ยนแปลงสำคัญ
|
อินเตอร์เฟส I
|
จำลองโครโมโซมขึ้นมาอีก
1
เท่าตัว แต่ละโครโมโซม ประกอบด้วย 2 โครมาทิด
|
โปรเฟส I
|
โฮโมโลกัส โครโมโซม
มาจับคู่แนบชิดกัน (synapsis)
ทำให้มีกลุ่มโครโมโซม กลุ่มละ 2 ท่อน (bivalent)
แต่ละกลุ่ม ประกอบด้วย 4 โครมาทิด(tetrad)
และเกิดการแลกเปลี่ยน ชิ้นส่วนของโครมาทิด (crossing over)
|
เมตาเฟส I
|
คู่ของโฮโมโลกัส
โครโมโซม เรียงตัวอยู่ตามแนวศูนย์ กลางของเซลล์
|
แอนาเฟส I
|
โฮโมโลกัส โครโมโซม
แยกคู่ออกจากกัน ไปยังแต่ละข้างของขั้วเซลล์
|
ทีโลเฟส I
|
เกิดนิวเคลียสใหม่ 2 นิวเคลียส
แต่ละนิวเคลียส มีจำนวนโครโมโซม เป็นแฮพลอยด์ (n)
|
อินเตอร์เฟส II
|
เป็นระยะพักชั่วครู่
แต่ไม่มีการจำลอง โครโมโซมขึ้นมาอีก
|
โปรเฟส II
|
โครโมโซมหดสั้นมาก
ทำให้เห็นแต่ละโครโมโซม มี 2 โครมาทิด
|
เมตาเฟส II
|
โครโมโซมจะมาเรียงตัว
อยู่แนวศูนย์กลางของเซลล์
|
แอนาเฟส II
|
เกิดการแยกของโครมาทิด
ที่อยู่ในโครโมโซมเดียวกัน ไปยังขั้วแต่ละข้างของเซลล์ ทำให้โครโมโซม เพิ่มจาก n เป็น 2n
|
ทีโลเฟส II
|
เกิดนิวเคลียสใหม่เป็น 4 นิวเคลียส
และแบ่งไซโทพลาสซึม เกิดเป็น 4 เซลล์ สมบูรณ์ แต่ละเซลล์
มีจำนวนโครโมโซม เป็นแฮพลอยด์ (n) หรือ เท่ากับครึ่งหนึ่ง
ของเซลล์เริ่มต้น
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น