ฝาแฝดเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่น่าอัศจรรย์
เพราะธรรมดามนุษย์เราจะมีบุตรทีละ 1 คนเท่านั้น แต่สำหรับคนคูณสองอย่างฝาแฝดจึงเป็นกรณีพิเศษ
แฝดแบ่งออกได้เป็นสองชนิดใหญ่ๆ
คือแฝดแท้(แฝดร่วมไข่) และแฝดเทียม (แฝดต่างไข่)
1. แฝดร่วมไข่ เป็นฝาแฝดที่เกิดจากการรวมตัวกันของเซลล์ไข่ 1 ใบ
และอสุจิ 1 ตัว
ขณะที่กำลังเจริญเติบโตเอ็มบริโอมีการแบ่งเซลล์เช่น จาก 1 เป็น
2 และแยกขาดออกจากัน
แต่ละส่วนจะเจริญเติบโตเป็นทารกที่มีอวัยวะครบสมบูรณ์จนกระทั่งคลอด
แฝดประเภทนี้จะเป็นเพศเดียวกันเสมอ มีรูปร่างลักษณะเหมือนกัน
และถ้าได้รับการเลี้ยงดูในสภาพแวดล้อเดียวกันจะมีอุปนิสัยและความสามารถที่คล้ายกันมาก
ในกรณีที่เอ็มบริโอแบ่งตัว ออกเป็น 2 แต่ไม่แยกออกจากกัน เมื่อทารก
เจริญเติบโตจะได้ทารกตัวติดกัน
2. แฝดต่างไข่
เป็นแฝดที่เกิดจากมีไข่สุกมากกว่า
1 ใบ
ไข่แต่ละใบจะมีโอกาสเข้าผสมกับตัวอสุจิแต่ละตัวและเกิดการปฏิสนธิในเวลาใกล้เคียงกัน
จะได้เอ็มบริโอ เจริญเติบโตอยู่ภายในมดลูกเดียวกัน
แต่แยกรกกันและทารกจะคลอดออกมาในเวลาใกล้เคียงกัน ฝาแฝดชนิดนี้อาจเป็นเพศเดียวกันหรือต่างเพศกันก็ได้
ส่วนหน้าตาและลักษณะทางพันธุกรรมจะมีลักษณะคล้ายกัน
ปัจจัยเกิดแฝด
" จากการสำรวจเด็กแฝดที่เกิดจากไข่ 1 ใบ หรือที่เรียกว่าแฝดเหมือน
จะมีอุบัติการณ์เท่ากันทุกเชื้อชาติ คือ 1 คู่ / 250 คน ส่วนเด็กแฝดที่เกิดจากไข่มากกว่า1 ใบ
จะมีปัจจัยดังนี้
1. กรรมพันธุ์ เครือญาติของแม่ที่มีแฝด
จะมีโอกาสได้ลูกแฝดมากกว่าเครือญาติของพ่อที่มีลูกแฝด อย่างเช่น
2. เชื้อชาติ เช่น ในฝรั่งผิวขาวชาวยุโรปจะเกิดฝาแฝด 1 คู่ต่อหญิงตั้งครรภ์ 100 คน
ส่วนหญิงนิโกรจะเกิด 1 คู่ต่อหญิงตั้งครรภ์ 80 คน
3. อายุของแม่และจำนวนครั้งของการตั้งครรภ์ก็มีส่วนอย่างยิ่ง
เพราะยิ่งอายุ และจำนวนครั้งของการตั้งครรภ์มากเท่าไร ไข่จะมีโอกาสตกเยอะขึ้น
โอกาสตั้งครรภ์แฝดก็มากขึ้นตาม อย่างในประเทศไนจีเรีย
หญิงตั้งครรภ์จะมีโอกาสเป็นแฝดได้ร้อยละ 2 แต่หญิงที่ตั้งครรภ์ครั้งที่ 6 หรือมากกว่าจะมีโอกาสตั้งครรภ์แฝดได้ถึงร้อยละ 6.6
4. หญิงที่มีน้ำหนักตัวมากโดยสาเหตุมาจากการกินเยอะ
จะมีโอกาสตั้งครรภ์แฝดมากกว่าหญิงรูปร่างผอม
ที่เกิดจากภาวะทุพโภชนาการหรือขาดอาหาร ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับความสมบูรณ์ของร่างกาย
5. การได้รับสารหรือยากระตุ้นให้ตกไข่มากกว่า 1 ใบ ซึ่งอยู่ในกลุ่มยาฮอร์โมน
6. การทำเด็กหลอดแก้ว
7. การกินยาคุมกำเนิดเป็นเวลานาน ประมาณ 3 ปีขึ้นไป
เพราะยาคุมจะมีฤทธิ์ไปกดต่อมฮอร์โมนใต้สมองไม่ให้ไข่ตก
แต่ถ้าเราเกิดอยากมีลูกและหยุดคุมขึ้นมาฮอร์โมนที่ถูกกดไว้มันจะเป็นอิสระ
ทำให้ตกไข่ทีละหลายๆ ใบ จึงเกิดโอกาสเป็นเด็กแฝดได้มากกว่าคนปกติ
" คุณแม่เมื่อมีลูกแฝดอาจจะมีอาการแพ้ท้องมากกว่าปกติ
กินเท่าไรก็ไม่พอ เมื่อท้องไปสักพักแล้วรู้สึกว่าท้องมันใหญ่กว่าปกติมาก เช่นท้อง 3 เดือนเท่า 5เดือนแล้ว
หรือลูกดิ้นมากซ้ายทีขวาทีเต็มไปหมด ก็จะเป็นตัวบ่งชี้
แต่การอัลตราซาวนด์จะให้ผลแม่นยำที่สุด แค่อายุครรภ์ประมาณ 6 สัปดาห์ ก็จะเห็นแล้วว่าเป็นเด็ก 2 คน อยู่คนละถุงกัน"
แต่การตั้งครรภ์เด็กแฝดจะทำให้คุณแม่มีความเสี่ยงกว่าครรภ์ทั่วไป เช่น
§ มีโอกาสแท้งและคลอดก่อนกำหนดสูงกว่าครรภ์ปกติ
§ โอกาสที่เด็กจะตายในครรภ์และแรกคลอด สูงมากกว่าปกติถึง 2 เท่า
§ เด็กอาจมีน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม
§ มีความผิดปกติแต่กำเนิดสูงกว่าครรภ์ปกติ
§ แม่เกิดอาการแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ เช่น ครรภ์เป็นพิษ โลหิตจาง
รกเกาะต่ำ รกลอกตัวก่อนกำหนด เด็กอยู่ในท่าผิดปกติ โพรงมดลูกใหญ่มากๆ
§ อาการแทรกซ้อนขณะคลอด เช่น มดลูกบีบตัวไม่ดี สายสะดือย้อยๆ
จึงทำให้เพิ่มอัตราการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องแม่
§ อาการแทรกซ้อนหลังคลอด เช่น ตกเลือด และการติดเชื้อฯ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น