Translate

วันเสาร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

เอเชียผวา ไวรัสคล้าย SARS ระบาดในเกาหลีใต้


    เอเชียผวา ไวรัสคล้าย SARS ระบาดในเกาหลีใต้ เริ่มลามไปจีนแล้ว

                    MERS ไวรัสคล้ายซาร์สที่มีต้นตอจากตะวันออกกลาง เริ่มระบาดในเกาหลีใต้ พบผู้ป่วยแล้ว 13 ราย จีนพบอีก 1 
                    เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2558 เว็บไซต์โคเรียไทมส์  รายงานว่า ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ตะวันออกกลาง หรือ MERS กำลังระบาดอย่างน่าเป็นห่วงที่เกาหลีใต้ ตอนนี้มียอดผู้ติดเชื้อแล้ว 13 ราย โดยมีต้นตอมาจากชายวัย 68 ปีรายหนึ่งที่เดินทางกลับจากบาห์เรนและเอาเชื้อมาแพร่ภายในประเทศ

                    รายงานจากกระทรวงสาธารณสุขเกาหลีใต้ ระบุว่า ชายวัย 68 ปี รายนี้ได้เดินทางไปยังบาห์เรนเมื่อเดือนเมษายน-พฤษภาคม และเดินทางกลับเกาหลีใต้โดยแวะที่กาตาร์ หลังจากที่เขากลับมา ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ตะวันออกกลาง หรือ MERS ก็เริ่มระบาดภายในประเทศ และไม่เพียงแค่นั้น ทางการจีนเองก็เพิ่งจะออกมาเผยว่า การเริ่มระบาดของไวรัส MERS ไม่ได้จำกัดแค่ในเกาหลีใต้เท่านั้น เพราะตอนนี้จีนก็พบผู้ป่วยจากไวรัสนี้แล้วเหมือนกัน โดยผู้ป่วยรายนี้เป็นลูกชายของผู้ป่วย MERS รายหนึ่งที่ติดเชื้อในเกาหลีใต้เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว

                    สำหรับไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ตะวันออกกลาง หรือ MERS เป็นไวรัสตระกูลเดียวกับ SARS ที่เคยระบาดในประเทศจีนเมื่อ 12 ปีก่อน ค้นพบเป็นครั้งแรกในปี 2555 โดยพบในแถบตะวันออกกลางเกือบทั้งหมด แต่ก็มีบางรายที่พบในยุโรปบ้าง ผู้ป่วยล้วนเป็นคนที่เคยเดินทางไปยังประเทศตะวันออกกลางทั้งนั้น
                    MERS เป็นเชื้อไวรัสที่ยังไม่มีทางรักษา และยังไม่มีวัคซีนป้องกัน เมื่อติดเชื้อแล้วผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูง ก่อนจะเป็นปอดบวม และบางรายก็มีอาการไตวาย

                    นับตั้งแต่ค้นพบเชื้อไวรัสนี้ ก็มีรายงานผู้ติดเชื้อไปแล้ว 1,100 ราย เสียชีวิตไปแล้วหลายร้อยราย

                    อย่างไรก็ดี ตอนนี้ทางการจีนและเกาหลีใต้กำลังจับตาสถานการณ์การระบาดครั้งนี้อย่างใกล้ชิด โดยเน้นไปที่การตรวจสอบผู้ที่เดินทางเข้าประเทศอย่างละเอียดยิ่งขึ้น

วันเสาร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

รูปทรงเรขาคณิตที่สมบูรณ์แบบในพืช

Aloe polyphylla เป็นหนึ่งในสายพันธุ์ว่านหางจระเข้ ซึ่งมีถิ่นกำเนิดในประเทศเลโซโท ประเทศเล็ก ๆ ที่ถูกล้อมรอบด้วยประเทศต่าง ๆ ในแอฟริกาใต้ และเป็นหนึ่งในสามประเทศในทวีปแอฟริกาที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

Aloe polyphylla เป็นพืชที่โดดเด่นด้วยใบ โดยจะมีลักษณะเป็นเกลียวห้าแฉกที่สมบูรณ์แบบและงดงามมีลักษณะสีเขียว เทา ดอกของมันมีตั้งแต่สีแดงไปจนถึงสีชมพู และจะออกในช่วงฤดูร้อน

ปัจจุบันเป็นสายพันธุ์พืชที่มีความต้องการของตลาดเป็นอย่างมากเพื่อนำไปปลูกเป็นไม้ประดับ แต่ในแอฟริกาใต้การซื้อ ขาย หรือเก็บรวบรวมพืชมีครอบครองถือเป็นความผิดทางอาญา
ที่มา http://www.nextsteptv.com/?p=6564

เสือดาวหิมะ : Snow leopard

เสือดาวหิมะ : Snow leopard เป็นสัตว์ในวงศ์ Felidae ชนิดหนึ่ง ที่มีสถานภาพใกล้สูญพันธุ์แล้ว มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Uncia uncia นับเป็นสัตว์ชนิดเดียวที่อยู่ในสกุล Uncia มีความยาวลำตัวและหัว 90-135 เซนติเมตร ความยาวหาง 90 เซนติเมตร ความสูงถึงหัวไหล่ 60 เซนติเมตร น้ำหนักในตัวผู้ 44-55 กิโลกรัม ตัวเมีย 35-40 กิโลกรัม
มีขนยาวหนาแน่น สีพื้นเทาอมเหลือง บริเวณสีข้างจะอมเหลืองจาง ๆ มีลายดอกเข้มทั่วตัวคล้ายเสือดาว ช่วยให้ดูกลมกลืนกับสภาพแวดล้อมที่อาศัยซึ่งเป็นภูเขาหินและหิมะปกคลุม ลายดอกบริเวณหลังและสีข้างมีขนาดใหญ่ ส่วนบริเวณหัวและขาเป็นลายจุดขนาดเล็ก บริเวณคาง อก และท้องเป็นสีขาวปลอดไม่มีลาย ลายบริเวณหลังและสีข้างจะจางกว่าบริเวณอื่นซึ่งต่างจากเสือลายจุดชนิดอื่นที่มักมีลายที่หลังเข้มกว่า
 
หางด้านบนจะเป็นวงสีดำ ด้านล่างของหางเป็นจุดจาง ๆ เปรียบเทียบลายดอกของเสือดาวหิมะกับของเสือดาวแล้ว ดอกของเสือดาวหิมจะห่างกันมากกว่า และไม่คมชัดเท่า มีกล้ามเนื้อหน้าอกและหัวไหล่ที่แข็งแรง อุ้งเท้ากว้างแข็งแรงและปกคลุมด้วยขน ช่วยให้เพิ่มพื้นที่ผิวและกระจายน้ำหนักตัวลงบนหิมะได้อย่างสม่ำเสมอ และช่วยปกป้องอุ้งเท้าจากความเย็นของหิมะได้ดี มีโพรงจมูกใหญ่
มีการกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางบนภูเขาสูงที่มีหิมะปกคลุมในภูมิภาคเอเชียกลาง เช่น มองโกเลีย, ภูฐาน, ทิเบต, จีน, อัฟกานิสถาน, รัสเซีย, อินเดีย, เนปาล โดยพบที่ทิเบตและจีนมากที่สุด มีชนิดย่อยทั้งหมด 2 ชนิด คือ U. u. uncia พบในมองโกเลียและรัสเซีย และ U. u. uncioides พบในจีนและเทือกเขาหิมาลัย ซึ่งที่อยู่ของทั้ง 2 ชนิดนี้ไม่เชื่อมต่อติดกัน
 
มีพฤติกรรมและชีววิทยาเป็นสัตว์ที่มีนิสัยขี้อาย มักหลบเมื่อพบกับมนุษย์ สามารถกระโดดได้ไกลถึง 15 เมตร มีรายงานนอนกลางวันชอบหลบไปนอนในรังของแร้งดำหิมาลัย (Aegypius monachus) โดยการกระโดดขึ้นไปเลยไม่ใช้การปีน
ออกล่าเหยื่อในเวลาเย็นหรือเช้าตรู่ โดยล่าสัตว์ทุกขนาดทั้งสัตว์ใหญ่สัตว์เล็ก โดยปกติแล้วจะล่าเหยื่อและอยู่ตามลำพัง ยกเว้นในฤดูผสมพันธุ์ ที่อาจอยู่เป็นคู่ เมื่อล่าเหยื่อได้แล้วอาจจะกินไม่หมดในครั้งเดียว อาจใช้เวลานานถึง 3-4 วันกว่าเหยื่อจะหมด นานที่สุดคือ 1 สัปดาห์
เสือดาวหิมะมักอยู่ในพื้นที่เล็ก ๆ ในระยะเวลาประมาณ 7-10 วัน ก่อนที่จะเดินทางไกลไปอีกที่หนึ่ง ระยะทางที่เดินทางวันหนึ่งเฉลี่ยราว 1 กิโลเมตรสำหรับตัวผู้และ 1.3 กิโลเมตรสำหรับตัวเมีย บางครั้งอาจเดินทางได้ไกลถึงวันละ 7 กิโลเมตร
ในอดีตมีการล่าเสือดาวหิมะเพื่อทำเป็นเสื้อขนสัตว์ โดยมีราคาซื้อขายสูงถึงตัวละ 50,000 ดอลลาร์ และมีการล่าถึงปีละ 1,000 ตัว จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1952 ทางรัฐบาลอินเดียจึงได้ออกกฎหมายคุ้มครองขึ้นมา แต่ปัจจุบันก็ยังมีการลักลอบในพื้นที่ต่าง ๆ เช่นกัน
 
ปัจจุบัน คาดการว่ามีปริมาณเสือดาวหิมะเหลืออยู่ในธรรมชาติประมาณ 4,000 ตัว
ที่มา http://www.nextsteptv.com/?p=1740

น้ำตกกวางสีน้ำตกที่สวยที่สุดในหลวงพระบาง

น้ำตกตาดกวางสี หรือ น้ำตกกวางสี (Kuang Si Falls, Tat Kuang Si Waterfalls) เป็นน้ำตกที่ตั้งอยู่ห่างจากเมืองหลวงพระบาง ประเทศลาว ประมาณ 32 กิโลเมตร


น้ำตกตาดกวางสี มีจำนวนชั้นทั้งหมด 4 ชั้น มีความสูงโดยรวมประมาณ 75 เมตร เป็นน้ำตกหินปูน น้ำในน้ำตกจึงมีสีเขียวมรกต ได้ชื่อว่าเป็นน้ำตกที่สวยที่สุดของหลวงพระบาง
ภายในน้่ำตกมีการจัดการท่องเที่ยวอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย มีพื้นที่แบ่งออกเป็นพื้นที่รับประทานอาหาร โดยไม่อนุญาตให้มีการปรุงอาหาร พื้นที่สำหรับเล่นน้ำ และมีการจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพ
Photo : wikimedia commons 
ที่มา : http://www.nextsteptv.com/?p=6246

อีกก้าวกับการพัฒนาสมองอิเล็กทรอนิกส์


นักวิจัยที่มหาวิทยาลัย RMIT ออสเตรเลีย ได้เลียนแบบกระกวนการประมวลผลข้อมูลในสมองโดยการพัฒนา "ความทรงจำระยะยาว" ในรูปแบบ "อิเล็กทรอนิกส์"
นักวิจัยจากสถาบันวิจัยไมโครนาโน ได้พัฒนาเซลล์ความทรงจำหลายสถานะแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถเลียนแบบสมองคนในกระบวนการประมวลผลข้อมูลและจัดเก็บข้อมูลได้
การพัฒนาครั้งนี้ทำให้เราขยับเข้าไปสู่การสร้างสมองของมนุษย์ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ไบโอนิกเบรน มากยิ่งขึ้น ซึ่งจะทำให้เราประสบความสำเร็จในการรักษาโรคทางสมองอย่างโรคอัลไซเมอร์และพาร์กินสันต่อไปได้ โดยการค้นพบนี้ได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการ Advanced Functional Materials แล้ว
ดร.ชารัธ ศรีราม หัวหน้าโครงการวิจัยเผยว่า เทคโนโลยีใหม่นี้จะเลียนแบบวิธีการของสมองในการใช้ความทรงจำระยะยาว
"เรามาใกล้การสร้างระบบคล้ายสมองที่มีความทรงจำที่สุดแล้ว ระบบนี้สามารถเรียนรู้และบรรจุข้อมูลเชิงอนาล็อกและสามารถดึงข้อมูลกลับมาได้อย่างรวดเร็ว" ดร.ชารัธ เผย
"สมองของมนุษย์เป็นคอมพิวเตอร์อนาล็อกที่ซับซ้อนมากที่สุด พัฒนาการของสมองก็มาจากประสบการณ์ในอดีต และจนถึงตอนนี้ก็ยังไม่มีเทคโนโลยีดิจิตอลใดสามารถทำงานเลียนแบบได้อย่างน่าพอใจ"
ดร.ชารัธเผยว่า ความสามารถในการสร้างความทรงจำอนาล็อกที่เร็วยิ่งยวดและหนาแน่นสูงนี้จะทำให้เราเข้าไปใกล้การเลียนแบบระบบประสาททางชีววิทยาที่มีความน่าเชื่อถือสูง
งานวิจัยครั้งนี้เกิดขึ้นจากการพัฒนาเมมโมรีระดับนาโนที่เร็วยิ่งยวดโดยใช้วัสดุออกไซด์เชิงฟังก์ชันในรูปแบบของฟิล์มที่บางยิ่งยวด คือบางกว่าเส้นผมมนุษย์ 10,000 เท่า
ดร.ฮัสเซน นิลี นักวิจัยหลักเผยว่า "การค้นพบนี้เป็นเรื่องสำคัญเพราะจะทำให้เราได้เซลล์หลายสถานะที่สามารถเก็บและประมวลผลข้อมูลในรูปแบบเดียวกับที่สมองทำ"
"ลองนึกถึงกล้องแบบเก่าๆที่สามารถ่ายรูปได้เฉพาะรูปขาวดำ หลักการของเราก็คล้ายๆกัน แทนที่จะมีแค่เมมโมรีขาวกับดำ ตอนนี้เรามีเมมโมรีที่มีสีมีเงา มีแสง มีพื้นผิว และอื่นๆอีก"
วัสดุตัวใหม่นี้สามารถจุข้อมูลได้มากกว่าเมมโมรีดิจิตอลแบบเดิม (ที่เก็บแค่ 0 กับ 1) ความสามารถในการทำงานคล้ายกับสมองในการเก็บและเรียกคืนความทรงจำก็เป็นสิ่งที่น่าตื่นตาตื่นใจอีกเช่นกัน
"เราได้แก้ไขข้อผิดพลาดหรือตำหนิของวัสดุออกไซด์ด้วยการใช้อะตอมโลหะเพิ่มขึ้น ซึ่งจะทำให้ปรากฏกาณ์ memristive รุนแรงขึ้น ซึ่งเป็นพฤติกรรมของความทรงจำที่จะดึงเอาความทรงจำในอดีตเข้ามาเกี่ยว" ดร.นิลีอธิบาย
เมมโมรีระดับนาโนนี้เป็นขั้นเริ่มต้นของการพัฒนาระบบความฉลาดเทียมที่ซับซ้อน ที่จะนำไปสู่การสร้างไบโอนิกเบรนต่อไป
ดร.นิลีเผยว่า งานวิจัยนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้หลากหลาย ตั้งแต่การเลียนแบบสมองของมนุษย์ ที่จะทำให้การศึกษาเรื่องสมองของมนุษย์ไม่ต้องติดปัญหาเรื่องศีลธรรมในการทดลองกับมนุษย์อีกต่อไป
"หากว่าเราสามารถทำสมองขึ้นมาใหม่ให้อยู่นอกร่างกายได้ เราก็อาจจะลดปัญหาเชิงศีลธรรมที่อาจจะมีผลต่อการรักษาและทดลองสมองได้ จะทำให้เราเข้าใจเรื่องราวของประสาทวิทยามากขึ้น"
อ้างอิง: RMIT University. (2015, May 12). Nano memory cell can mimic the brain’s long-term memory. ScienceDaily. Retrieved May 21, 2015 from www.sciencedaily.com/releases/2015/05/150512075107.htm
งานวิจัย: Hussein Nili, Sumeet Walia, Ahmad Esmaielzadeh Kandjani, Rajesh Ramanathan, Philipp Gutruf, Taimur Ahmed, Sivacarendran Balendhran, Vipul Bansal, Dmitri B. Strukov, Omid Kavehei, Madhu Bhaskaran, Sharath Sriram. Donor-Induced Performance Tuning of Amorphous SrTiO3Memristive Nanodevices: Multistate Resistive Switching and Mechanical TunabilityAdvanced Functional Materials, 2015; DOI:10.1002/adfm.201501019
อ้างอิง http://www.vcharkarn.com/vnews/502308