Translate

วันเสาร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2557

ชีววิทยาของเซลล์ (4)

9. ไมโตคอนเดรีย (mitochondria )  พบเฉพาะในเซลล์ยูคาริโอต ประกอบไปด้วยโปรตีน ไขมัน DNA RNA และไรโบโซม รูปร่างไม่แน่นอน อาจจะเป็นก้อน (granular) เป็นท่อนยาว ๆ (filamentous) หรือคล้ายกระบอง (club shape) ก็ได้ มีเยื่อหุ้มสองชั้น ภายในมีเอ็นไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการหายใจแบบใช้ออกซิเจน (aerobic respiration) หลายชนิด เป็นแหล่งผลิตพลังงานให้เซลล์ มีความสำคัญต่อการเผาผลาญอาหาร แบคทีเรียไม่มีไมโตคอนเดรีย แต่จะมีโปรตีนและสารอื่น ละลายอยู่ในไซโตโซมทำหน้าที่เป็นแหล่งผลิตพลังงานให้กับเซลล์
ภาพที่ 9 ไมโตรคอนเดรีย
ที่มา : www.thaigoodview.com



10. คลอโรพลาสต์ (chloroplast) เป็นพลาสติด (plastid) ชนิดหนึ่งที่มีสีเขียว พบเฉพาะในพืชและแบคทีเรียบางชนิดที่สังเคราะห์แสงได้ ประกอบไปด้วย คลอโรฟิลล์ (chlorophyll) DNA , RNA ,ไรโบโซม, โปรตีน, คาร์โบโฮเดรทและเอ็นไซม์บางชนิด รูปร่างมีหลายแบบ เช่น รูปไข่ รูปจาน หรือรูปกระบอง ทำหน้าที่สังเคราะห์แสง 
ภาพที่ 10 คลอโรพลาสต์
ที่มา : guru.sanook.com

11. แวคิวโอล (vacuole) ลักษณะเป็นก้อนกลมใส ๆ มีเยื่อบาง ๆ ล้อมรอบ มองเห็นได้ชัดเจน ทำหน้าที่ได้แตกต่างกันเช่น เป็น Food vacuole เป็น Contractile vacuole เป็น Central vacuole หรือ Tonoplast ในเซลล์พืชจะมีขนาดใหญ่ ภายในจะมีน้ำประมาณเป็นส่วนใหญ่ สารอินทรีย์ สารอนินทรีย์ ออกซิเจน และ คาร์บอนไดออกไซด์ 
ภาพที่ 11 แวคิลโอล
ที่มา : www.myfirstbrain.com

       จะเห็นได้ว่า เซลล์พืชกับเซลล์สัตว์ต่างก็มีองค์ประกอบไม่ครบทุกส่วน ออร์แกแนลล์บางชนิดที่พบในเซลล์พืชก็ไม่อาจพบได้ในเซลล์สัตว์ เช่น คลอโรพลาสต์ เป็นต้น ในการเรียนรู้เรื่องเซลล์และองค์ประกอบของเซลล์ให้เข้าใจได้ง่ายนั้น นักเรียนต้องวาดภาพเซลล์และชี้องค์ประกอบเอง และต้องรู้ด้วยว่าแต่ละออร์แกแนลล์ทำหน้าที่อะไรบ้าง หากฝึกบ่อยๆ ต่อไปแค่เพียงเห็นภาพ นักเรียนก็จะรู้ได้โดยอัตโนมัติว่าสิ่งที่เห็นคืออร์แกแนลล์ชนิดใด พบได้ในเซลล์ชนิดใด และมีหน้าที่อย่างไร สู้ๆนะคะ ครูเชื่อว่าความขยัน มุ่งมั่น อดทน จะทำให้เราไปถึงฝั่งฝันได้อย่างที่ปรารถนา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น