Translate

วันเสาร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2557

ชีววิทยาของเซลล์ (1)


          เซลล์ประกอบด้วยออร์แกแนลล์ดังนี้
1. เยื่อหุ้มเซลล์ (Cell membrane) เยื่อหุ้มเซลล์ของสิ่งมีชีวิตทำหน้าที่เป็นเยื่อเลือกผ่าน นั่นหมายถึง เจ้าเยื่อหุ้มเซลล์จะยอมให้สารบางชนิดผ่านเท่านั้น และสารชนิดนั้นต้องมีองค์ประกอบเช่นเดียวกับเยื่อหุ้มเซลล์ หากแตกต่างจำเป็นต้องมีตัวรับ ซึ่งก็คือโปรตีนตัวพา (เราจะมาเรียนรู้พวกโปรตีนตัวพาในเนื้อหาต่อไปนะคะ) 
ภาพที่ 3 เยื่อหุ้มเซลล์ 
ที่มา : http://www.il.mahidol.ac.th/

           เยื่อหุ้มเซลล์เกิดจากการรวมตัวของลิพิดและโปรตีน มีการจัดเรียงตัวเป็น 2 ชั้น โดยลิพิดจะมี 2 ส่วน คือส่วนที่ชอบน้ำจะมีลักษณะเป็นก้อนกลมหันออกสู่ภายนอก และลิพิดที่ไม่ชอบน้ำลักษณะเป็นเส้น(เรามักเรียกว่าส่วนหาง) หันเข้าหากัน และมีโปรตีนแทรกอยู่โดยทั่วผนังเซลล์ โปรตีนที่พบในเยื่อหุ้มเซลล์มีหลายชนิด และอาจทำหน้าที่ได้หลายอย่าง เช่นเป็นเอนไซม์ ช่วยในการขนส่งหรือเป็นตัวรับสัญญาณก็ได้ การวางตัวของโปรตีนในชั้นลิพิดไม่มีแบบแผนที่แน่นอน บางชนิดวางตัวอยู่รอบนอกของชั้นลิพิดด้านใดด้านหนึ่ง (peripheral protein) บางชนิดฝังตัวแน่นภายในชั้นลิพิด (integral protein) และโปรตีนบางตัวจะมีส่วนของคาร์โบไฮเดรตมาเกาะจับไว้ เราเรียกว่าไกลโคโปรตีน (Glycoprotein) 

2. นิวเคลียส (Nucleus) คือออร์แกเนลล์ที่มีเยื่อหุ้ม 2 ชั้น ภายในบรรจุสารพันธุกรรมเอาไว้ มักพบอยู่บริเวณกลางเซลล์ และพบได้ในเซลล์ของพวกยูคาริโอต ซึ่งภายในนิวเคลียส (Nucleus) จะมีดีเอ็นเอ (DNA) กับโปรตีนหลายชนิดที่เกาะตัวอยู่กับดีเอ็นเอ (DNA) เช่น โปรตีนฮิสโตน (histone) โดยขดตัวกันกับสายดีเอ็นเอเป็นโครโมโซม (chromosome
       นิวเคลียส (nucleus) มีหน้าที่ คือ การรักษาเสถียรภาพของยีน(gene) ต่างๆและทำการควบคุมการทำงานต่างๆของเซลล์โดยผ่านการแสดงออกของยีน(gene expression)
       นิวเคลียส (nucleus)จะสามารถเห็นได้เมื่อมองผ่านกล้องจุลทรรศ เมื่อนิวเคลียส(nucleus) ถูกย้อมด้วยสี นิวเคลียส(nucleus)จะติดสีเข้มทึบ จนสามารถสังเกตได้ชัดเจน
       นิวเคลียส (nucleus) จะแยกพวกสารพันธุกรรมออกจากไซโตพลาซึม(cytoplasm)โดยมีเยื่อหุ้มนิวเคลียส (nuclear envelope)ที่เป็นเยื่อหุ้ม 2 ชั้น เยื่อหุ้มนิวเคลียส(nuclear envelope)จะมีนิวเคลียร์พอร์ (nuclear pore) หรือ ช่องที่จะทำให้สารสามารถเคลื่อนที่ผ่านเยื่อหุ้มนิวเคลียส(nuclear envelope)ได้ นิวเคลียร์พอร์ (nuclear pore)เหล่านี้จะทะลุผ่านเยื่อหุ้มนิวเคลียส(nuclear envelope)ทั้ง 2 ชั้น ทำให้โมเลกุลที่มีขนาดเล็กและไอออนสามารถเคลื่อนที่เข้าและออกนิวเคลียส(nucleus)ได้ ในการเคลื่อนที่เข้าและออกของพวกสารที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ อย่างเช่น โปรตีน ที่ต้องมีการทำการควบคุมโดยต้องใช้โปรตีนช่วยในการขนส่งสาร (carrier proteins) นอกจากนี้นิวเคลียส (nucleus)ยังมีโครงสร้างที่เรียกว่านิวเคลียร์ลามินา (nuclear lamina) ที่เป็นโครงสร้างมีลักษณะเป็นร่างแหภายในนิวเคลียส(nucleus) โดยทำหน้าที่เป็นโครงร่างคอยค้ำจุนให้ความแข็งแรงแก่นิวเคลียส(nucleus)ได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น