พืช ทำไมต้องกินแมลง?
ปกติแล้ว พืชจะสังเคราะห์แสง ในการปรุงอาหาร และได้รับธาตุอาหารจากดิน เพื่อช่วยในการเจริญเติบโต แต่มีพืชอยู่กลุ่มหนึ่ง ที่มีวิธีการหาอาหารนอกจากวิธีที่ต่างจากพืชทั่วๆไป ก็คือ "การดักจับแมลง"
เราเรียกพืชกลุ่มนี้ว่า Carnivorous Plant หรือในภาษาไทยเรียกกันว่า พืชกินแมลง พืชประเภทนี้มีความสามารถในการดักจับแมลง กระจายพันธุ์ในแต่ล่ะทวีปในโลก และ มีอยู่หลายชนิด หลายสกุล
แล้วทำไม มันต้องกินแมลง?
สาเหตุที่พืชกลุ่มนี้ต้องกินแมลง ก็เพราะว่า พืชในกลุ่มนี้ ส่วนใหญ่มักจะขึ้นอยู่ในพื้นที่ หรือ บริเวณที่แร่ธาตุสารอาหารค่อนข้างน้อย ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ โดยสารอาหารที่พืชต้องการโดยหลักๆ ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และ โพแทสเซียม โดยเฉพาะธาตุ ไนรโตรเจน ที่เป็นธาตุที่สำคัญมากๆ ซึ่งแมลง ก็มีธาตุอาหารนี้อยู่ภายในตัว พืชเหล่านี้จึงพัฒนาใบ ที่มีความสามารถในการดักจับแมลง เพื่อดักจับ และ ดูดซับธาตุอาหารในตัวแมลงนั่นเอง
พืชกินแมลงชนิดต่างๆ
ในบ้านเรา พืชกินแมลง ที่เป็นที่รู้จักกันดี ได้แก่ หม้อข้าว หม้อแกงลิง , หยาดน้ำค้าง , กาบหอยแครง แต่ในความเป็นจริงแล้ว พืชกินแมลงนั้นมีอยู่ทั้งหมดประมาณ 14 สกุล เรามาดูกันว่า มีอะไรบ้างดีกว่า
มาเริ่มจากสกุลแรก ที่บ้านเรารู้จักมากที่สุด
หม้อข้าว หม้อแกงลิง (Nepenthes)
สกุล หม้อข้าว หม้อแกงลิง เป็นสกุลที่หลากหลาย และ มีสายพันธุ์มากมาย โดยจุดเด่นก็คือ ใบที่ลดรูปเป็นหม้อ โดยใบที่เราเข้าใจว่าเป็นใบนั้น แท้จริงแล้วเป็นใบเลี้ยงนั่นเอง โดยขยายพันธุ์ในเขต เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นส่วนมาก หรือก็คือแถบบ้านเรานี่เอง
Nepenthes rajah เป็นสายพันธุ์ ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
หยาดน้ำค้าง (Drosera)
กลุ่มนี้มีความพิเศษที่ สามารถสร้างสารเหนียวๆ ที่บริเวณใบ เมื่อแมลงตัวเล็กๆมาติด ก็จะไม่สามารถหนีไปได้ และจะตายในที่สุด หลังจากนั้นพืชจึงย่อยสลายซากแมลง และ ดูดสารอาหาร
กาบหอยแครง (Dionaea)
กลุ่มนี้ค่อนข้างที่จะโด่งดัง ด้วยใบที่พัฒนาเป็นกับดับที่คล้ายปาก ที่สามารถงับได้ เมื่อมีแมลงมาสัมผัส กระจายพันธุ์ในทวีปอเมริกา
สกุล Aldrovanda
สกุลนี้เป็นพืชน้ำ มีลักษณะคล้ายสาหร่าย ใบมีรูปร่างคล้าย กาบหอยแครง คือเป็นลักษณะปากงับ
ใบที่มี เหยื่ออยู่ด้านใน
สกุล Sarracenia
มีลักษณะคล้าย กระบอก รูปร่างยาว มีเหง้าอยู่ใต้ดิน ชอบขึ้นอยู่ในบริเวณที่ชื้นแฉะ
สกุล Pinguicula
มีลักษณะคล้ายกับ กลุ่มหยาดน้ำค้าง คือมีการสร้างเมือก บริเวณผิวใบ
สกุล Utricularia
สกุลนี้ เป็นพืชกินแมลง ที่กระจายพันธุ์ไปทั่วโลก และมีสายพันธุ์มากที่สุดในโลก มีลักษณะที่มีความหลากหลายมาก ทั้งพืชน้ำ และ พืชที่ขึ้นในที่ชื้นแฉะต่างๆ ลำต้นมีขนาดเล็กมาก มีลักษณะทอดยาว โดยบริเวณรากจะมี กระเปาะ ที่มีไว้สำหรับจับแมลง โดยเมื่อแมลงเข้ามาใกล้กระเปาะ กระเปาะนี้ก็จะทำการดูดแมลงเข้าไป และ ปล่อยน้ำย่อยออกมา โดยดอก จะมีสีสันสวยงาม และโดดเด่น ทำให้สังเกตเห็นได้ง่ายจากดอก
ในชนิดที่เป็นพืชน้ำ จะสามารถสังเกตุเห็น กระเปาะได้ชัดเจน
สกุล Cephalotus
เป็นพืชถิ่นเดียวของ ออสเตรเลีย มีการพัฒนาใบอยู่ 2 แบบ คือ ใบที่เป็นใบไม้ทั่วไป ใช้สังเคราะห์แสง และ ใบที่เป็นกระเป๋า สำหรับดักจับแมลง ลักษณะภายนอกคล้ายกับ หม้อข้าว หม้อแกงลิง ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะ แต่ไม่มีน้ำขัง ตามริมหนองบึง
สกุล Darlingtonia
รู้จักกันดีในชื่อ ลิลลี่งูเห่า ใบมีลักษณะเป็นกรวย มีลักษณะคล้ายกับหัวของ งูที่แลบลิ้นออกมาก
สกุล Byblis
มีลักษณะคล้ายหยาดน้ำค้าง สร้างกาวเหนียวๆ ออกมาเพื่อดักจับแมลง
สกุล Drosophyllum
มีลักษณะคล้ายกลุ่มหยาดน้ำค้างเช่นเดียวกัน โดยมีกาวเหนียวสร้างมาจับแมลง บริเวณใบ พบตามแนวชายฝั่งของ สเปน โปรตุเกส โมร็อกโค
สกุล Roridula
มีลักษณะเป็น ต้นไม้ขนาดกลาง พบในแอฟริกาใต้ บริเวณใบมีกาวเหนียว ใช้ในการดักจับแมลง เช่นกัน
สกุล Heliamphora
มีลักษณะเป็นกรวย ไม่สามารถผลิตเอนไซด์ย่อยสลายได้ แต่อาศัยแบคทีเรียเป็นตัวช่วยในการย่อย
สกุล สับประรดสี (Brocchinia)
ในสกุลนี้ มีเพียงไม่กี่ตัว ที่เป็นไม้กินแมลง คือ B. hechtioides,B. reducta และ Catopsis berteroniana โดยสามารถผลิตเอนไซด์ย่อยสบายได้ จัดเป็นไม้กึ่ง กินแมลง
ปล. ยังมีอีกสอง สามสกุล ที่ไม่ได้พูดถึง เพราะข้อมูลค่อนข้างน้อย และ ยังไม่เป็นที่แพร่หลาย และรู้จักมากนัก
เราเรียกพืชกลุ่มนี้ว่า Carnivorous Plant หรือในภาษาไทยเรียกกันว่า พืชกินแมลง พืชประเภทนี้มีความสามารถในการดักจับแมลง กระจายพันธุ์ในแต่ล่ะทวีปในโลก และ มีอยู่หลายชนิด หลายสกุล
แล้วทำไม มันต้องกินแมลง?
สาเหตุที่พืชกลุ่มนี้ต้องกินแมลง ก็เพราะว่า พืชในกลุ่มนี้ ส่วนใหญ่มักจะขึ้นอยู่ในพื้นที่ หรือ บริเวณที่แร่ธาตุสารอาหารค่อนข้างน้อย ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ โดยสารอาหารที่พืชต้องการโดยหลักๆ ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และ โพแทสเซียม โดยเฉพาะธาตุ ไนรโตรเจน ที่เป็นธาตุที่สำคัญมากๆ ซึ่งแมลง ก็มีธาตุอาหารนี้อยู่ภายในตัว พืชเหล่านี้จึงพัฒนาใบ ที่มีความสามารถในการดักจับแมลง เพื่อดักจับ และ ดูดซับธาตุอาหารในตัวแมลงนั่นเอง
พืชกินแมลงชนิดต่างๆ
ในบ้านเรา พืชกินแมลง ที่เป็นที่รู้จักกันดี ได้แก่ หม้อข้าว หม้อแกงลิง , หยาดน้ำค้าง , กาบหอยแครง แต่ในความเป็นจริงแล้ว พืชกินแมลงนั้นมีอยู่ทั้งหมดประมาณ 14 สกุล เรามาดูกันว่า มีอะไรบ้างดีกว่า
มาเริ่มจากสกุลแรก ที่บ้านเรารู้จักมากที่สุด
หม้อข้าว หม้อแกงลิง (Nepenthes)
สกุล หม้อข้าว หม้อแกงลิง เป็นสกุลที่หลากหลาย และ มีสายพันธุ์มากมาย โดยจุดเด่นก็คือ ใบที่ลดรูปเป็นหม้อ โดยใบที่เราเข้าใจว่าเป็นใบนั้น แท้จริงแล้วเป็นใบเลี้ยงนั่นเอง โดยขยายพันธุ์ในเขต เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นส่วนมาก หรือก็คือแถบบ้านเรานี่เอง
Nepenthes rajah เป็นสายพันธุ์ ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
หยาดน้ำค้าง (Drosera)
กลุ่มนี้มีความพิเศษที่ สามารถสร้างสารเหนียวๆ ที่บริเวณใบ เมื่อแมลงตัวเล็กๆมาติด ก็จะไม่สามารถหนีไปได้ และจะตายในที่สุด หลังจากนั้นพืชจึงย่อยสลายซากแมลง และ ดูดสารอาหาร
กาบหอยแครง (Dionaea)
กลุ่มนี้ค่อนข้างที่จะโด่งดัง ด้วยใบที่พัฒนาเป็นกับดับที่คล้ายปาก ที่สามารถงับได้ เมื่อมีแมลงมาสัมผัส กระจายพันธุ์ในทวีปอเมริกา
สกุล Aldrovanda
สกุลนี้เป็นพืชน้ำ มีลักษณะคล้ายสาหร่าย ใบมีรูปร่างคล้าย กาบหอยแครง คือเป็นลักษณะปากงับ
ใบที่มี เหยื่ออยู่ด้านใน
สกุล Sarracenia
มีลักษณะคล้าย กระบอก รูปร่างยาว มีเหง้าอยู่ใต้ดิน ชอบขึ้นอยู่ในบริเวณที่ชื้นแฉะ
สกุล Pinguicula
มีลักษณะคล้ายกับ กลุ่มหยาดน้ำค้าง คือมีการสร้างเมือก บริเวณผิวใบ
สกุล Utricularia
สกุลนี้ เป็นพืชกินแมลง ที่กระจายพันธุ์ไปทั่วโลก และมีสายพันธุ์มากที่สุดในโลก มีลักษณะที่มีความหลากหลายมาก ทั้งพืชน้ำ และ พืชที่ขึ้นในที่ชื้นแฉะต่างๆ ลำต้นมีขนาดเล็กมาก มีลักษณะทอดยาว โดยบริเวณรากจะมี กระเปาะ ที่มีไว้สำหรับจับแมลง โดยเมื่อแมลงเข้ามาใกล้กระเปาะ กระเปาะนี้ก็จะทำการดูดแมลงเข้าไป และ ปล่อยน้ำย่อยออกมา โดยดอก จะมีสีสันสวยงาม และโดดเด่น ทำให้สังเกตเห็นได้ง่ายจากดอก
ในชนิดที่เป็นพืชน้ำ จะสามารถสังเกตุเห็น กระเปาะได้ชัดเจน
สกุล Cephalotus
เป็นพืชถิ่นเดียวของ ออสเตรเลีย มีการพัฒนาใบอยู่ 2 แบบ คือ ใบที่เป็นใบไม้ทั่วไป ใช้สังเคราะห์แสง และ ใบที่เป็นกระเป๋า สำหรับดักจับแมลง ลักษณะภายนอกคล้ายกับ หม้อข้าว หม้อแกงลิง ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะ แต่ไม่มีน้ำขัง ตามริมหนองบึง
สกุล Darlingtonia
รู้จักกันดีในชื่อ ลิลลี่งูเห่า ใบมีลักษณะเป็นกรวย มีลักษณะคล้ายกับหัวของ งูที่แลบลิ้นออกมาก
สกุล Byblis
มีลักษณะคล้ายหยาดน้ำค้าง สร้างกาวเหนียวๆ ออกมาเพื่อดักจับแมลง
สกุล Drosophyllum
มีลักษณะคล้ายกลุ่มหยาดน้ำค้างเช่นเดียวกัน โดยมีกาวเหนียวสร้างมาจับแมลง บริเวณใบ พบตามแนวชายฝั่งของ สเปน โปรตุเกส โมร็อกโค
สกุล Roridula
มีลักษณะเป็น ต้นไม้ขนาดกลาง พบในแอฟริกาใต้ บริเวณใบมีกาวเหนียว ใช้ในการดักจับแมลง เช่นกัน
สกุล Heliamphora
มีลักษณะเป็นกรวย ไม่สามารถผลิตเอนไซด์ย่อยสลายได้ แต่อาศัยแบคทีเรียเป็นตัวช่วยในการย่อย
สกุล สับประรดสี (Brocchinia)
ในสกุลนี้ มีเพียงไม่กี่ตัว ที่เป็นไม้กินแมลง คือ B. hechtioides,B. reducta และ Catopsis berteroniana โดยสามารถผลิตเอนไซด์ย่อยสบายได้ จัดเป็นไม้กึ่ง กินแมลง
ปล. ยังมีอีกสอง สามสกุล ที่ไม่ได้พูดถึง เพราะข้อมูลค่อนข้างน้อย และ ยังไม่เป็นที่แพร่หลาย และรู้จักมากนัก
เนื้อหาโดย: Jinyong
อ้างอิงจาก http://board.postjung.com/654783.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น