ไขมันเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญอย่างหนึ่งของสิ่งมีชีวิต และไขมันในธรรมชาติส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของไตรเอซิลกลีเซอรอล (triacylglycerol) หรือไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) โดยไตรเอซิลกลีเซอรอล 1 กรัม จะให้พลังงานประมาณ 38 kJ ซึ่งให้พลังงานมากกว่าโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตเกือบ 2 เท่า
ก่อนที่จะเกิดการย่อย ไตรเอซิลกลีเซอรอลสามารถถูกดูดซึมได้ที่ผนังของลำไส้เล็ก ในการที่จะย่อยไตรเอซิลกลีเซอรอลนั้น ไตรเอซิลกลีเซอรอลจะต้องเปลี่ยนจากรูปที่ไม่ละลายน้ำไปเป็นรูปของไมเซลล์ (micelles) หลังจากนั้นต่อมน้ำดีจะหลั่งน้ำดีไปคลุกเคล้ากับไตรเอซิลกลีเซอรอลที่ลำไส้เล็ก ทำให้เอนไซม์ไลเปสที่ละลายในน้ำ (water – soluble lipase) ในลำใส้เล็กสามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อเอนไซม์ไลเปสย่อยไตรเอซิลกลีเซอรอลแล้วจะได้เป็น
มอนอเอซิลกลีเซอรอล (monoacylglycerol)
ไดเอซิลกลีเซอรอล (diacylglycerol)
กรดไขมันอิสระ (free fatty acids)
กลีเซอรอล (glycerol)
ไดเอซิลกลีเซอรอล (diacylglycerol)
กรดไขมันอิสระ (free fatty acids)
กลีเซอรอล (glycerol)
ประมาณ 95% ของพลังงานทั้งหมดของไตรเอซิลกลีเซอรอลจะยังคงอยู่ในรูปของสายโซ่ของกรดไขมัน มีเพียง 5% เท่านั้นที่จะอยู่ในรูปของกลีเซอรอล
อ้างอิง http://www.il.mahidol.ac.th/e-media/electrochemistry/web/oxidation_of_fatty_acids1.htm
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น