Translate

วันเสาร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2558

นักวิทย์ชี้แมมมอธสูญพันธุ์ไม่ใช่เพราะอุกกาบาตชนโลก

นักวิจัยเชื่อว่า ละอองหินและดินที่ฟุ้งกระจายอยู่ทั่วไปในยุคหินที่ทำให้แมมมอธสูญพันธุ์ไปเมื่อนั้น น่าจะมาจากเหตุไฟไหม้ในยุคนั้นมากกว่าจะเกิดจากอุกกาบาตชนโลกเมื่อ 12,900 ล้านปีก่อน
งานวิจัยล่าสุดจากซีเรียตอกย้ำว่าทฤษฎีที่ว่าการพุ่งชนของอุกกาบาตจากนอกโลกทำให้แมมมอธสูญพันธุ์นั้นลดความน่าเชื่อถือลงไปเรื่อยๆอีก
ในช่วงยุคโลกเย็น Younger Dryas ในวัฏจักรการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศของโลกเมื่อหมื่นกว่าปีก่อนนั้น มีเหตุบังเอิญคือการสูญพันธุ์ของแมมมอธและสัตว์ใหญ่ชนิดอื่นบางชนิด และการหายไปของมนุษย์ปาลีโอ-อินเดียน โคลวิส และในช่วงทศวรรษ 1980 นักวิจัยบางกลุ่มเสนอว่าช่วงโลกเย็นนี้เริ่มต้นขึ้นเมื่อดาวหางหรืออุกกาบาตพุ่งชนทวีปอเมริกาเหนือพอดี
แต่จากการศึกษาครั้งใหม่ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการ Journal of Archaeological Science นักวิทยาศาสตร์ได้วิเคราะห์ละอองจากตะกรันภูเขาไฟซิลิกาจากแหล่งศึกษา 4 แห่งทางตอนเหนือของซีเรีย มีอายุราวๆ 10,000 ถึง 13,000 ปี โดยเม็ดเล็กที่มีรอยพรุนนี้มีความสัมพันธ์กับการหลอมเหลว นักวิจัยได้เปรียบเทียบละอองตะกรันเหล่านี้กับละลองตะกรันภูเขาไฟที่คล้ายกันที่ก่อนหน้านี้เคยมีการวิเคราะห์กันว่าเกิดจากการที่ดาวหางพุ่งชนโลกจริงในยุค Younger Dryas
"จากการศึกษาจากข้อมูลตัวอย่างที่เราได้มาจากซีเรีย ทฤษฎีนี้เป็นอันต้องตกไป" ปีเตอร์ ธาย นักวิจัยแห่งภาควิชาธรณีวิทยาและดาวเคราะห์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เดวิส สหรัฐอเมริกาเผย
"ไม่มีทางที่จะเป็นไปได้เลย"
เหตุผลที่นักวิจัยเชื่อว่า ทฤษฎีนี้ไม่น่าจะเป็นไปได้คือ
  1. 1. องค์ประกอบของละอองตะกรันภูเขาไฟนี้มีความเกี่ยวข้องกับดินท้องที่ ไม่ได้เกี่ยวข้องใดๆกับดินที่มาจากทวีปอื่นที่เคยเชื่อกันว่าการชนของดาวหางในครั้งนั้นน่าจะทำให้เกิดละอองคล้ายๆกันในหลายๆทวีป
  2. 2. ลักษณะพื้นผิวของละอองนั้น ทฤษฎีจากอุณหพลศาสตร์และผลจากการวิเคราะห์อื่นๆแสดงให้เห็นว่า ละอองนี้เกิดขึ้นจากความร้อนในช่วงสั้นๆ จากอุณหภูมิที่สูงประมาณหนึ่ง แต่ไม่ได้เกิดจากอุณหภูมิสูงยิ่งยวดและร้อนมากที่มาจากการชนของอุกกาบาตครั้งใหญ่
  3. 3. และกุญแจสำคัญคือ ตัวอย่างที่ได้มาจากแหล่งโบราณคดีอายุ 3,000 ปีนั้นกลับมีความสัมพันธ์กับแหล่งที่พบในปัจจุบันอย่างไม่น่าเชื่อ
"ถ้ามันมาจากการชนของอุกกาบาตจริง มันก็น่าจะมีความเกี่ยวข้องกับเฉพาะในยุคนั้นนะ ไม่น่าจะเกี่ยวข้องกับแหล่งโบราณคดีอายุแค่ 3,000 ปี" ธายชี้
และการสูญพันธุ์ของแมมมอธไม่ได้มาจากการชนของอุกกาบาต แล้วละอองเหล่านี้มาจากไหน นักวิทยาศาสตร์เสนอว่า มาจากไฟไหม้บ้านในยุคนั้น! เพราะการศึกษาตัวอย่างที่เก็บมาจากซีเรียชี้ว่า ละอองเหล่านี้มีความสัมพันธ์กับการตั้งถิ่นฐานที่แม่น้ำยูเฟรติสในยุคแรกๆ และสถานที่ต่างๆร่วมทั้งโครงสร้างบ้านดินนั้น ก็ชี้ให้เห็นถึงความเป็นไปได้ว่าจะเกิดไฟไหม้บ้านที่แรงและทำให้เกิดการหลอมละลาย การศึกษาครั้งนี้จึงสรุปว่า ละอองที่เกิดจากไฟไหม้บ้านในยุคนั้นได้ฟุ้งกระจายไปทั่วจนทำให้สัตว์ใหญ่ในยุคนั้นสูญพันธุ์
อ้างอิง: University of California - Davis. (2015, January 6). Study casts doubt on mammoth-killing cosmic impact. ScienceDaily. Retrieved January 11, 2015 from www.sciencedaily.com/releases/2015/01/150106130518.htm
งานวิจัย: P. Thy, G. Willcox, G.H. Barfod, D.Q. Fuller. Anthropogenic origin of siliceous scoria droplets from Pleistocene and Holocene archaeological sites in northern SyriaJournal of Archaeological Science, 2015; 54: 193 DOI:10.1016/j.jas.2014.11.027

อ้างอิงข้อมูลจาก http://www.vcharkarn.com/vnews/501513

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น